Test Report: Cary Audio Design : Model 7.250

0

Test Report: Cary Audio Design : Model 7.250

การุณชาติ พุกกะเวส

cary_audio_model_7250_1

ย้อน กลับไปดูปีที่ผ่านมา การทดสอบเพาเวอร์แอมป์มัลติแชนแนลมีน้อยมาก เนื่องจากตลาดเองก็มีจำหน่ายในวงแคบ ส่วนมากจะเริ่มที่เอ / วี รีซีฟเวอร์เป็นหลัก ซึ่งเมื่อจับคู่กับลำโพงที่เหมาะสม ใช้ในห้องที่ขนาดเล็ก ถือว่าเพียงพอระดับหนึ่ง เลยทำให้โปรเจคการเพิ่ม “เพาเวอร์แอมป์” ไม่ว่าจะ 2 แชนแนลหรือมัลติแชนแนลต้องหยุดลง

ทั้งที่ ในความเป็นจริง หากต้องการเล่นอย่างมีคุณภาพเสียงที่ดี มิติเสียงที่ชัดเจน กำลังของแอมป์จะมีผลมาก! แต่น่าเสียดายที่ถูกมองข้ามไป

วันนี้ มีอีกหนึ่งค่ายที่เดินทางผ่านมาในชีวิตของผม หลายท่านต้องคุ้นชื่อเป็นอย่างดีเพราะก่อตั้งในปี ค.ศ.1989 ประสบการณ์เหลือเฟือด้วยความมุ่งมั่นผลิตสินค้าระดับไฮเอนด์ 2 แชนแนล ก่อนจะขยับไลน์เพิ่มในส่วนโฮมเธียเตอร์เพิ่มเข้ามา โดยยังคงความเป็นไฮเอนด์เช่นเดิม โดยที่ผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นล้วนได้รับรางวัลมากมาย ผมกำลังหมายถึง Cary Audio Design นักเล่นบ้านเรานิยมเรียกสั้นๆ ว่า Cary ปัจจุบันมีสำนักงานตั้งที่ 1020 Goodworth Drive Apex, North Carolina 27539 United States. ส่วน CEO คือ Mr.Billy Wright

ไลน์อัพ Cary Audio Design ผลิตทั้งซีดี, DAC, ปรีแอมป์, เพาเวอร์แอมป์ (หลอด และทรานซิสเตอร์) ฯลฯ ซึ่งแบ่งซีรี่ส์ง่ายๆ คือ Classic กับ Cinema

เราจะมาเน้นในซีรี่ส์ Cinema มีสินค้าอยู่ 2 ประเภทคือ ปรีโปสเซอร์เซอร์ 1 รุ่น (Cinema 12) กับเพาเวอร์แอมป์ 4 รุ่น (Model 7.250 / Model 7.125 / SA-200.2 / SA-500.1) ซึ่งจะว่าไป 2 รุ่นแรกคือ เพาเวอร์แอมป์มัลติแชนแนล ต่างกันที่กำลังขับ แต่ซื้อตัวเดียวก็จบเล่นได้เลย ส่วน 2 รุ่นหลังคือเพาเวอร์แอมป์สเตอริโอ 2 แชนแนล และโมโนบล็อก 1 แชนแนล ผู้ใช้จะต้องซื้อตามแชนแนลที่ต้องการฟัง ซึ่งจะมีผลผูกพันกับจำนวนชั้นวาง จำนวนสายไฟ ความยาวของสายสัญญาณที่ต้องเพิ่มขึ้นด้วย

ดังนั้น หากพิจารณาความเหมาะสม การใช้เพาเวอร์แอมป์มัลติแชนแนลอย่าง Model 7.250 หรือ Model 7.125 ดูจะลงตัวกว่าใคร

ซึ่ง เมื่อเปิดปี พ.ศ.2014 ใหม่ ผมก็เสมือนได้รับของขวัญปีใหม่กลายๆ เพราะได้รับเพาเวอร์แอมป์มัลติแชนแนลรุ่นท๊อปของค่ายมาทดสอบ นั่นคือ Model 7.250 ตัวเลข 7 นั่นหมายถึงจำนวนภาคขยายที่ให้มา มีทั้งหมด 7 แชนแนล ส่วนตัวเลข .250 นั่นหมายถึงกำลังวัตต์ในแต่ละแชนแนล ซึ่งก็คือ มีกำลังแชนแนลละ 250 วัตต์!! สำหรับโหลด 8 โอห์ม และจะเพิ่มเป็น 400 วัตต์ x 7 แชนแนล ที่โหลด 4 โอห์มซึ่งนับว่าสูงมาก

ลองมาติดตามกันว่า การเพิ่มเพาเวอร์แอมป์มัลติแชนแนลกำลังสูงขนาดนี้อย่าง Cary Audio Design : Model 7.250 เข้าไปจะทำให้เกิดความมันส์ความสะใจในการดูหนังได้มากเพียงใด

 poweramp7250_interior_800

พิเศษ Cary Audio Design : Model 7.250

– ดีไซน์, ออกแบบ และผลิตในสหรัฐอเมริกา
– ให้กำลังขับ 250 วัตต์ x 7 แชนแนล ที่ 8 โอห์ม
– ให้กำลังขับ 400 วัตต์ x 7 แชนแนล ที่ 4 โอห์ม
– หม้อแปลงเทอร์รอยด์ขนาดใหญ่ 2 ตัว
– ขั้วต่อมีทั้ง RCA (ชุบทอง) / XLR
– มีวงจรตรวจสอบความผิดพลาดต่างๆ เช่น ต่อสายผิด หรือมีการช๊อตเกิดขึ้น
– มีระบบ DC offset protection
– ภาคขยายเป็นโซลิทสเตท (ไม่ใช่หลอด) คลาส A/B
– ใช้ทรานซิสเตอร์แบบคัดเกรดให้เข้าคู่กัน
– มีวงจร Soft start ไม่กระชากเวลาเปิดเครื่อง
– แผงหน้าอะลูมิเนียมหนาเพื่อลดเรโซแนนท์
– ขั้วต่อสายลำโพงขนาดใหญ่
– เลือกการเปิด / ปิดเครื่องแบบอัตโนมัติได้
– สายไฟเอซีแบบถอดได้สำหรับงานกินไฟมากชนิด IEC 20A

IMG_8353

ลักษณะทั่วไป Cary Audio Design : Model 7.250       

          เพาเวอร์แอมป์มัลติแชนแนล Cary Audio Design : Model 7.250 เป็นรุ่นใหม่ที่ผสานความสวยงามลงไปชัดเจน

ออก แบบมาเน้นความเรียบง่าย ตัวถังเป็นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ตัวถังที่ได้รับเป็นสีดำ แผงหน้าอะลูมิเนียมอโนไดซ์สีเงิน (ในต่างประเทศมีสีดำด้วย-ถ้าสนใจลองสอบถามตัวแทนจำหน่ายฯ ดูว่าสั่งได้หรือไม่?) ลบมุมเรียบร้อย ด้านล่างเซาะร่อง 1 ร่องเพิ่มความสวยงาม และติดตั้งสวิตช์เปิดเครื่อง เพื่อลดความแข็งกระด้าง

ด้าน ซ้ายบนสกรีนยี่ห้อ Cary Audio Design ที่มุมซ้าย ส่วนมุมขวาเป็นชื่อรุ่น Model 7.250 กึ่งกลางแผงหน้าเป็นทำเป็นหลุมแล้วปิดทับด้วยอะครีลิคสีสำสกรีนว่า Cary Audio Design ซึ่งจะทำหน้าที่สัมพันธ์กับสวิตช์เปิดปิดเครื่อง เวลา Standby / การเปิดเครื่อง ไฟสีน้ำเงินจะติดอ่อนๆ กับติดสว่างตามสถานะ (หรี่ และดับไฟได้ที่สวิตช์โยกด้านหลัง)

ด้านล่างเซาะร่อง 1 ร่องเพิ่มความสวยงาม ลดความแข็งกระด้าง และติดตั้งสวิตช์เปิดเครื่องไปพร้อมกัน

ด้านข้างซ้าย และขวา บริเวณใกล้แผงหน้าจะเจาะรูไว้เพื่อระบายอากาศให้หม้อแปลง

ด้านบนฝาหลังไม่มีรูระบายอากาศใดๆ

ด้านหลังซ้ายมือเป็นขั้วรับสัญญาณเสียงเข้าชนิด RCA ชุบทอง และ XLR เรียงแนวนอน ติดตั้งในระยะความห่างที่ลงตัว และเรียงจากบนลงล่าง 4 ชุด (Right / Right Surr / Right Rear / Center) ถัดไปเป็นช่องระบายอากาศขนาดใหญ่ และขวามือก็เป็นขั้วรับสัญญาณเสียงเข้าชนิด RCA ชุบทอง และ XLR เรียงแนวนอน เช่นเดียวกัน เรียงจากบนลงล่างแต่มีแค่ 3 ชุด (Left / Left Surr / Left Rear) แค่นี้ก็แทบเต็มพื้นที่ด้านหลังเครื่องแล้ว

ด้านล่างสุดจะเป็นขั้วต่อลำโพงเรียงแนวนอน อาจจะชิดกันไปนิด ด้านซ้าย 4 ชุด (Right / Right Surr / Right Rear / Center), เมนสวิตช์ขนาด 8 แอมป์ และเบ้าเสียบ IEC ชนิด 20A แสดงให้เห็นว่าการกินไฟนั่นค่อนข้างมาก, Triggers 1 ช่อง สำหรับการเปิด / ปิดอัตโนมัติ, ขั้วต่อลำโพงเรียงแนวนอนอีก 3 ชุด (Left / Left Surr / Left Rear) โดยที่เหนือขึ้นไปจะเป็นสวิตช์โยกสำหรับหรี่ และดับไฟหน้าปัด

โดยมีชื่อยี่ห้อ รุ่น และซีรี่ส์นัมเบอร์แทรกตัวอยู่ที่มุมซ้ายตามช่องว่างต่างๆ

ด้านใต้ติดขาขนาดเล็ก 4 ตัวสำหรับยกลอยเครื่อง

นอก จากนี้เลย์เอ้าท์ภายนอกต่างจากรุ่น Model 7.125 ชัดเจนที่แผงหลัง รุ่นเล็กขั้วต่อสัญญาณเรียงแนวตั้ง ไม่มีรูระบายอากาศที่แผงหลัง เบ้ารับสายไฟเป็นแบบ 15A เหมือนเครื่องทั่วไป ก็ไม่ได้กินกระแสมากเหมือนรุ่นพี่ที่เป็น 20A ส่วนภายในก็ต่างเช่นกัน Model 7.125 ใช้หม้อแปลงตัวเดียว แผงวงจรเรียงแนวตั้ง 7 อันแล้วไปที่ด้านหลังโดยตรง

ลองดูรายละเอียด Cary Audio Design : Model 7.250 เพิ่มเติม คลิ๊กดูที่ www.caryaudio.com

 

สเป็ค Cary Audio Design : Model 7.250

– ให้กำลังขับ 250 วัตต์ x 5 แชนแนล ที่ 8 โอห์ม

– ให้กำลังขับ 400 วัตต์ x 5 แชนแนล ที่ 4 โอห์ม

– Damping Factor 270 at 10-400 Hz

– Slew Rate 40 V/µs

– Crosstalk> -90dB from 20 Hz to 20 kHz

– ตอบสนองความถี่ 20 Hz to 20 kHz (+/-0.1 dB)

– Channel Saparation >65 dB

– Voltage Gain 28 dB

– อัตราส่วนเสียงต่อสัญญาณรบกวน >100 dB, A-weighted

– Input Impedance       10 กิโลโอห์ม (RCA)

20 กิโลโอห์ม (XLR)

– Input Sensitivity         1.25 VRMS (RCA)

2.5 VRMS (XLR)

– ความเพี้ยน 0.05%

– ตัวถังกว้าง 17.7 ลึก 19.6 สูง 8.7 นิ้ว

– หนัก 105 ปอนด์

 Cary1_zps7a2e93b6

อุปกรณ์ที่ใช้ทดลอง Cary Audio Design : Model 7.250

ห้องโฮมเธียเตอร์

เครื่อง Blu-ray : Panasonic : DMP-BDT330 สายไฟแบบเลข 8 ผ่านตัวแปลงทำเองจาก 2 ขาออกเป็น IEC (IEC-Furutech สายภายใน Kimber Kable) ใส่ Wood Block : Versalab คั่นไว้ ใช้สายไฟเอซี JPS : In Wall (หัว / ท้าย Wattgate) รองสายไฟด้วย Shunyata : Dark Field 2 อัน ตัวเครื่องวางบนแผ่นไม้จากชั้นวาง Target Audio : TT5 ด้านใต้รองด้วย Symposium : Rollerblock Series 2 แบบประกบเป็นแซนวิช ทั้งหมดวางบนแท่นรอง Brightstar Audio : Big Rock I (มีทรายภูเขาไฟ Lovan ผสมด้วย) ฝาหลังเหนือช่อง HDMI ทับด้วยก้อนอิทธิเจ 1 ก้อน

โน้ตบุ๊ค HP G42, CPU Core [email protected] GHz, RAM 2 GB ใช้โปรแกรม JRiver Media Center 19 สาย Audioquest : Carbon (USB)

Arcam : irDAC วางบนชั้นวาง Audio Arts : Classic II ทับหลังเครื่องด้วยก้อนอิทธิเจ 1 ก้อน ช๊อตกราวด์ด้วยปลั๊ก RCA : WBT-1018 สายไฟ+หม้อแปลงที่แถมมา

เอ/วี รีซีฟเวอร์ Pioneer : VSX-LX70 เปลี่ยนฟิวส์เป็น Furutech : TF-15A (เยอรมัน) ตัดสายไฟเอซีภายในให้สั้นลง เชื่อมย้ำแต่ละจุดสำคัญด้วยตะกั่วเงิน แยก-คลี่สายไฟ / สายสัญญาณ / สายลำโพงให้ห่างกันเท่าที่ทำได้ วางบนชั้น XAV #111 เหนือหม้อแปลงทับด้วยอิฐมหัศจรรย์ VPI : HW dB-5 วาง XAV : EMX-9 ที่มุมขวา ใช้สายไฟเอซี Kimber Kable : PK10 (หัว / ท้าย Wattgate : 330i / 350i) รองสายไฟด้วยบล๊อกไม้ Cardas : Multi Blocks

สาย HDMI สำหรับเสียงเป็น Monster Cable : isf2000HD รองสายด้วย Cardas : Notched Myrtlewood Blocks Mini 1 อัน และ Cardas : Notched Myrtlewood Blocks 1 อัน ส่วนสาย HDMI สำหรับภาพเป็น Monster Cable : MC1000 (HDMI) ยาว 10 เมตร

จอ ฟิกส์ Stewart : Grayhawk RS (Reference Screen) ขนาด 92 นิ้ว โปรเจคเตอร์ JVC : DLA-RS10 อุดช่อง Composite / Component ด้วยปลั๊กอุด Cardas ติดตั้งแบบแขวนผนังด้วยขา Omni Mount : PMD2 ใช้สายไฟเอซี Halu Cable (หัว Pass & Semour / ท้าย Shurter : 4781) ยาว 10 เมตรลากมาเข้าปลั๊กกรองไฟ

เพาเวอร์แอมป์ Cary Audio Design : Model 7.250 วางบนชั้น Audio Arts : Trisolators สายไฟเอซีธรรมดา ก่อนสลับเป็น Running Springs Audio : Mongoose 20A , และ NBS 20A ต่อตรงเข้าปลั๊กผนัง Wattgate : 381 รองสายไฟด้วย Shunyata : DarkField 2 อัน

ลำโพงโฮมเธียเตอร์เป็น System Audio คู่หน้า Aura 50 เซ็นเตอร์ Mantra 10AV วางบนขาตั้ง Target Audio : ST50 เซอราวด์ Aura 1 วางบนขาตั้ง JM Labs : Utopia สูง 24 นิ้วที่มีแท่นไม้สักรองพร้อมด้วย Michael Tender Feet รุ่นจานบินรองอีกที รวมสูง 26 นิ้ว

ลำโพงโฮมเธียเตอร์อีกชุดเป็น Focus Audio คู่หน้าตั้งพื้น FP70 SE เซ็นเตอร์ FPC SE วางบนชั้น Finite Element : Spider เซอราวด์ FS6 SE วางบนขาตั้ง JM Labs : Utopia เช่นเดิม

สาย สัญญาณทั้งหมดเป็น Kimber Kable : Hero (XLR-Swisscraft) พร้อมอแดปเตอร์แปลงจาก RCA เป็น XLR ในคู่หน้า นอกนั้นเป็นหัว RCA WBT-0144

สาย ลำโพง Kimber Kable : 8TC คู่หน้าคั่นด้วยบานาน่าปลั๊ก Monster Cable : Power Connect 2 รองสายลำโพงด้วย Cable Elevator ข้างละ 2 ตัว เซ็นเตอร์ Kimber Kable : 8TC เบิ้ล 2 ทบ และเซอราวด์ Kimber Kable : 8TC เข้าหัวบานาน่าของ Kimber Kable ส่วนเซอร์ราวด์ยกลอยด้วย บล๊อกไม้ Cardas : Multi Blocks

แอคทีฟซับวูฟเฟอร์ Velodyne : CT-150 วางบนชั้น Master Stand Base : 2217 สายไฟเอซี Monster Cable : Power Line 300 รองสายด้วยที่วางเทียน (ทำจากแก้ว) 4 ตัวสลับกับลูกถ้วยเซรามิคการไฟฟ้า ใช้สายสัญญาณซับวูฟเฟอร์ Monster Cable : M1000SW รองสายด้วย Cable Tower 3 อัน และ Cardas : Notched Myrtlewood Blocks 1 อัน

ทาหน้าสัมผัสของ ขั้วต่อต่างๆ ด้วยน้ำยา ProGold ปลั๊กผนังเป็น Wattgate : 381 จำนวน 2 ชุด สายไวริ่งระหว่าง Wattgate : 381 ทั้ง 2 ตัวเป็น Supra : LoRad ตัวแรกปล่อยลอยไม่ได้ใช้ ใช้ตัวที่สองปิดฝาครอบเต้ารับ FIM : 308-1 ช่องมีดาวใช้สายไฟเอซีของ Supra : LoRad เบิ้ล 2 เส้น (หัว / ท้าย Wattgate) มาเสียบเข้าที่ตัวกรองกระแส DC ของ Perfect Power : Super DC Filter (ปรับปรุงภายใน และใช้ฟิวส์ Marsh 10A ชุบทอง) วางบนแผ่น Hi-Fi Block (ขาออกช่องแรก แยกสำหรับระบบภาพ ใช้สายไฟเอซีของ Supra : LoRad (หัว / ท้าย Wattgate) มาเข้าตัวคุมไฟ Silicon : VR-100ie ขาออกใช้สายไฟ AcousticZen : CL-3 (หัว / ท้าย Wattgate) มาเข้าปลั๊กลอยที่ใช้ปลั๊ก FIM : 886 เสียบ X-Filter และสายไฟของบูลเรย์

จาก DC ของ Perfect Power : Super DC Filter ขาออกอีกช่อง แยกสำหรับระบบเสียง ใช้สายไฟ Hovland : Mainline (หัว Marinco / ท้าย Furutech) รองสายด้วยบล็อกไม้ Cardas ไปเข้าปลั๊กลอย 4 ช่องเสียบใช้ปลั๊ก Cruze First Audio : Maestro (เสียบสายไฟของเอ / วี รีซีฟเวอร์) และ Cooper สีส้ม (เสียบ X-Filter และสายไฟของแอคทีฟซับฯ)

ห้อง ฟังขนาด 4 x 5 x 2.2 เมตร ควบคุมสภาพอะคูสติกห้องบ้าง บริเวณผนังข้างด้านหน้าปะด้วยผ้าดำหุ้มฟองน้ำ ที่กลางห้อง และผนังหลังมีแผ่นซับเสียงสูตร RPG (DIY) ปะไว้ มีจิ๊กซอว์ PRS จำนวน 1 คู่ที่ด้านหลังจุดนั่งฟัง มีแผ่น XAV : G-Sap เบอร์ 1 จำนวน 1 คู่ ติดตั้งไว้ที่ผนังด้านหน้า, เบอร์ 2 จำนวน 1 คู่ ติดตั้งไว้ที่ผนังด้านหลัง มี XAV : Trap พร้อมฐาน 1 คู่ XAV : Base Trap ตั้งมุมห้องด้านหน้า ใช้ Room Tune : Michael Green Audio 4 แท่งที่มุมทั้ง 4 ด้าน / Echo Tune 4 อัน

 cary_audio_model_7250_2

การติดตั้ง และการเซ็ทอัพ Cary Audio Design : Model 7.250

ผม ต้องจัดตำแหน่งวางใหม่ เนื่องจากเพาเวอร์แอมป์ Cary Audio Design : Model 7.250 มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมาก ผมไม่สามารถยกเข้าที่ชั้นวางประจำ 3 ชั้นที่ด้านล่างสุดได้ จึงปรับมาใช้ชั้นวางเตี้ยๆ แทน เพื่อสะดวกในการติดตั้ง และต้องหาที่วางลำโพงเซ็นเตอร์ใหม่ซึ่งก็เป็นวางบนขาตั้งด้านหลังแอมป์

การ ต่อสายสัญญาณในส่วนขั้วต่อ RCA หรือ XLR แยกเป็นด้านซ้าย / ขวา (ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง) แต่ปัญหาคือ ตัวเครื่องมีความลึกมาก เวลาวางเรียงต่อจากเอ/ วี รีซีฟเวอร์ สายความยาว 1 เมตร อาจสั้นเกินไป กรณีนี้ควรพยายามจัดวางเครื่องให้ชิดๆ กัน แล้วแต่ละแชนแนลจริงๆ จะต่อสลับอย่างไรก็ได้ ขอเพียงแต่ต่อสายลำโพงออกให้ถูกตามช่องอินพุทที่ใช้ และขั้ว RCA ที่ห่างกันนี้จัดดีๆ ก็สามารถแยกสายสัญญาณไม่ให้แตะกันได้ง่าย ยกเว้นว่าคุณไม่สนใจก็เป็นอีกเรื่อง

ส่วนสายลำโพงติดตั้งขั้วลำโพง ขนาดใหญ่ เรียงแนวนอนแบบ 7 ชุด เรียงเกือบติดกัน อาจจะทำให้สายลำโพงพาดทับกันได้ ก็ต้องระวังไว้ด้วย และสำคัญว่าสายไฟเข้าเครื่องอยู่เกือบกึ่งกลาง อย่าให้สายไฟไปแตะสายลำโพง ทั้งหมดไม่ยากเกินความพยายามครับ
ส่วนการเซ็ทอัพไม่มีอะไรมากเลยครับ ขอเพียงถ้าต่อสายสัญญาณสลับช่องตามใจจะต้องต่อสายลำโพงให้ถูกตำแหน่งด้วย นอกจากนี้ก็คงเป็นเรื่องการหรี่หรือดับไฟหน้าปัด ดวงไฟใช้สีน้ำเงิน ซึ่งมักเป็นปัญหาในห้องมืด แต่ Cary ก็ทำออกมาได้ดี ไม่จ้าแยงตาเวลาตั้งเผชิญหน้ากัน ผมตั้งตำแหน่ง “หรี่” เพื่อให้รู้ว่าเปิดเครื่องไว้ ใครไม่ชอบจริงๆ ก็เลือกปิดไฟได้ครับ

อีก ประเด็นคือ สายไฟเอซีใช้ท้ายแบบ 20A สำหรับงานหนัก กินกระแสสูง อาจต้องเตรียมงบอีกก้อนเพื่อซื้อ ซึ่งมีตั้งแต่หมื่นกว่าบาทขึ้นไปอย่าง Shunyata Venom HC จนสักเส้นละ 4-5 หมื่นบาทกำลังสวย ซึ่งเมื่อคิดว่าเครื่องนี้ราคาเกือบ 3 แสนบาท อย่าไปประหยัดด้วยการใช้สายแถมนะครับ

แอบดูภายใน Cary Audio Design : Model 7.250

ผม ไม่สามารถแอบดู Cary Audio Design : Model 7.250 ได้เลย เพราะฝาเครื่องไม่มีช่องระบายอากาศใดๆ เลยต้องอาศัยรูป และข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตมาประกอบนะครับ

ตัวหม้อแปลง toroidal ติดตั้งแบบแนวตั้ง มี 2 ตัว อยู่หลังแผงหน้าด้านซ้าย และขวา มีแผงวงจรหลักเรียงต่อไปยาวจนสุดด้านหลังเครื่อง วางแนวนอน แยกเป็น 2 ฝั่ง มีตัวเก็บประจุ 4 ตัวต่อแผง และแผงวงจรนี้จะเรียงซ้อนกันไปด้านล่าง ตามจำนวนแชนแนล ซึ่งด้านขวาจะมี 4 แผง ขณะที่ด้านซ้ายจะมี 3 แผง

กึ่งกลางคล้ายเป็นครีบระบายอากาศขนาดใหญ่ยาวจรดแผงหลัง ซึ่งจะเจาะช่องระบายอากาศไว้อีกที (ผมไม่แน่ใจว่ามีพัดลมช่วยหรือไม่)

 

ผลการลองฟัง Cary Audio Design : Model 7.250

เพา เวอร์แอมป์ Cary Audio Design : Model 7.250 ในเว็บไซต์ระบุชั่วโมงเบิร์นอินไว้ที่ 100 ชั่วโมง แต่เครื่องนี้เป็นเครื่องที่พ้นเบิร์นมาแล้ว เมื่อจัดเข้าชุด ต่อสายต่างๆ และปล่อยให้เครื่อง และสายทิ้งตัวเข้าที่อีก 1 วัน ก็พร้อมฟังแล้ว นับว่าช่วยผมได้มากทีเดียว

ก่อนอื่นมาดูความแตกต่างระหว่าง 2 พี่น้องกันบ้างครับ

หัวข้อ Model 7.250 Model 7.125
ให้กำลังขับ 250 วัตต์ x 7 แชนแนล ที่ 8 โอห์ม 125 วัตต์ x 7 แชนแนล ที่ 8 โอห์ม
ให้กำลังขับ 400 วัตต์ x 7 แชนแนล ที่ 4 โอห์ม 190 วัตต์ x 7 แชนแนล ที่ 4 โอห์ม
หม้อแปลง 2 ตัว 1 ตัว
แผงวงจรหลัก วางแนวนอน แยกเป็น 2 ฝั่ง และเรียงซ้อนกันไปด้านล่างตามจำนวนแชนแนล ซึ่งด้านขวาจะมี 4 แผง ขณะที่ด้านซ้ายจะมี 3 แผง วางแนวตั้ง เรียง 7 ชุด
ขั้วรับสัญญาณเสียงเข้า RCA ชุบทอง และ XLR เรียงแนวนอน เรียงแนวตั้ง
เบ้ารับสายไฟ กินกระแสมาก 20A 15A
รูระบายอากาศที่แผงหลัง มี ไม่มี

การ เปิดปิด Cary Audio Design : Model 7.250 มีเมนสวิตช์อยู่ด้านหลัง หากไม่ใช้งานนานๆ ควรปิดไว้ด้วย แต่ถ้าใช้สม่ำเสมอก็ปิดแค่สวิตช์ที่หน้าปัดเครื่องก็พอ (ฟิลลิ่งการปิดต้องกดค้างเล็กน้อย) เมื่อเปิดใช้งานต้องรอสักพักเครื่องจึงจะพร้อมทำงาน มีเสียง “ติ๊ก” จากนั้นโลโก้บนแผงหน้าจะค่อยๆ สว่างขึ้น

ที่ตัวเครื่อง Cary Audio Design : Model 7.250 ไม่มีช่องระบายความร้อนบนฝาเครื่องใดๆ แต่ตลอดเวลาที่ทดสอบไม่ว่าจะยาวนาน 7-8 ชั่วโมง ตัวเครื่องยังแค่อุ่นๆ จับได้สบาย ไม่ร้อนจนน่าวิตกหรือเป็นภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

ห้องฟังผมในบ้านหลังนี้ ไม่มีอินเตอร์เน็ตใดๆ

เริ่ม ฟังเสียงด้วยการดูหนัง แต่ต่อใช้งานแค่ 2 แชนแนลหน้า (แทนเพาเวอร์แอมป์สเตอริโอเครื่องก่อนหน้า เพื่อหาความแตกต่าง) แผ่น White House Down (Blu-ray แผ่นไทย, dts MSTR 5.1) ลำโพง System Audio : Aura 50 ตั้งค่าลำโพง Large เสียงนั้นมีเรี่ยวแรงที่ดี พละกำลังมาเต็ม มีความนิ่งสนิทไม่วูบวาบ พละกำลัง 250 วัตต์ช่วยเสริมเสียงความถี่ต่ำให้อวบอูมมากขึ้น ผนวกกับตัวลำโพงเองมีสปีดของเสียงต่ำที่เร็ว เสียงทั้งหมดจึงหนักแน่นแต่ไม่บวมคราง คุมตัวได้ดีมาก มาเป็นมา หยุดเป็นหยุด เสียงกลางชัดเจน สะอาด ไม่จัดจ้าน ปลายแหลมสะอาด ฉ่ำ ไม่พุ่งเปิดดุดันสุดๆ แต่ไม่อับทึบ ฟังใหม่ๆ อาจไม่สะใจนัก แต่ถ้าฟังนานๆ จะพบว่า สามารถฟังได้นานโดยไม่ล้าหู การแพนทิศทางทำได้ชัดเจน รับรู้การวนไปมาของเสียงได้อย่างยอดเยี่ยม จากเดิมที่ไม่ชัดเท่านี้

ถือ ว่ารับรู้สไตล์เสียงแล้ว คราวนี้ลองต่อ 5 แชนแนลเต็มๆ พร้อมกับเปลี่ยนลำโพงเป็นเซ็ท Focus Audio ซึ่งจะพบว่า เสียงนั้นเปลี่ยนไปตามคุณสมบัติของลำโพง

Cars (Blu-ray แผ่นญี่ปุ่น Dolby True HD 6.1) หนัง CG ที่ชินหูที่สุด ฟังจากทุกเครื่องทุกการไฟน์จูน ปลายแหลมอาจเก็บตัวไวนิด ไม่ทอดให้ฟุ้งตัวยาวนานนัก แต่ไม่ขาดหายแน่ เป็นเสียงแหลมที่ฟังสบายๆ มีเกรนเสียงที่เต็มเปี่ยมด้วยความฉ่ำเจือปนอยู่เต็มเปี่ยม เสียงกลางมีรายละเอียดดีมาก หัวโน้ตชัดเจน รับรู้การเกิดเสียงต่างๆ ได้ง่ายดายชนิดไม่ต้องจินตนาการใดๆ โดยที่แต่ละเสียงก็ถ่ายทอดได้ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ ไม่รุกเร้าจนเกินไป ความถี่ต่ำอิ่มแน่น เขย่าห้องดี การแพนทิศทางถูกต้องแม่นยำ สอดประสานกันอย่างลงตัว

The Lord of The Rings : Return of The King (5 Disc Extended Edition Blu-ray แผ่นไทย, dts MSTR 5.1) ถ่ายทอดเสียงพูดที่สะอาด เคลียร์ ลุ่มลึก แยกน้ำเสียงที่โกรธ ปลุกใจ เสียงที่แหบ และสากของกอลลั่มฟังแล้วบาดหัวใจมาก แยกแยะการก้องสะท้อนในถ้ำได้ดีมาก แสดงความลึกเป็นลำดับชั้นได้ดี บรรยากาศโอบล้อมดีเยี่ยม ลำโพงล่องหนได้ การแพนทิศทางชัดเจนสอดคล้องกับภาพ และมีโฟกัสที่ดีไม่พร่ามัวหรือวูบวาบ เชื่อได้เลยว่า Cary Audio Design : Model 7.250 ช่วยให้คุณฟังฉากต่อสู้ได้มั่นใจขึ้นแม้ที่ในระดับโวลลุ่มสูงๆ ต่อเนื่องนานๆ ประสิทธิภาพยังคงไม่ถดถอยใดๆ

Riddick : Rule The Dark (Blu-ray แผ่นไทย, dts MSTR 5.1) มีบรรยากาศโอบล้อมพรั่งพรู การแพนทิศทางถูกต้องสอดคล้องกับภาพ ไดนามิครุนแรง สวิงเสียงได้กว้าง

Transformers : Dark of the Moon (Blu-ray แผ่นอเมริกา, dts HD 5.1 Master Lossless Audio) ถ่ายทอดรายละเอียดเบาๆ ได้ยอดเยี่ยม เสียงที่เบาๆ กลับไม่โดนเสียงดังกว่ากลบไป เช่น กระดาษที่ปลิวลอยวนไปมาแทบจะนับแผ่นได้!!
Pacific Rim (Blu-ray แผ่นอเมริกา, dts HD 5.1 Master Lossless Audio) ฉากหุ่นยนต์สู้กับสัตว์ประหลาด เสียงหนักแน่น ทรงพลัง ห้องสะเทือน มีเสียงต่ำที่หนักแน่น และมากที่สุดเท่าที่ดูแผ่นบูลเรย์มา อัดได้ดังสะใจดีแท้…

The Dark Knight Rises (Steelbook Blu-ray แผ่นฝรั่งเศส, dts HD 5.1 Master Lossless Audio) ปลายแหลมสะอาดชัดเจน แต่ไม่จัดจ้าน เสียงกลางมีน้ำหนัก ทรงพลังแยกแยะหนักเบาได้ดี ความถี่ต่ำอัดแน่น เด้งตัวมหึมา แพนทิศทางได้แม่นยำ โฟกัสชัดเจนสุดๆ

และ นี่ขนาดไม่ได้ใช้ปรีเซอราวด์แท้ๆ ยังดีขนาดนี้ ถ้าใช้ปรีเซอราวด์แท้ๆ โดยเฉพาะของ Cary เอง คือ Cinema 12 เสียงจะอัพขึ้นอีกระดับแน่นอนด้วยราคาแพงกว่าเอ /วี รีซีฟเวอร์ที่ใช้ประมาณ 3 เท่า จากเกรดอุปกรณ์ที่มาเต็มกว่า จึงไม่มีการประนีประนอมใดๆ

ลองฟังเพลงกันบ้าง ไซ่ฉิน Golden Voice Vol.1 (BM-206003) ปลายแหลมมีปริมาณกำลังดี ไม่มากไม่น้อยเกินไป สะอาด ฉ่ำ พลิ้ว ไม่เน้นให้สดขึ้นขอบออกมา แต่ก็ไม่อับทึบ เสียงร้องลื่นไหล เป็นธรรมชาติมาก ความถี่ต่ำ เสียงโน้ตเบสอิ่มแน่น อวบอูมดี แต่ก็ไม่ถึงขั้นล้นหลามแน่ๆ

Harry Belafonte Live In Concert At The Carnegie Hall (BMG / RCA 74321 15713 2 (2)) ปลายแหลมเปิดโปร่ง สะอาด สดกำลังดี เสียงผิวปากกัดหูนิดหน่อย เสียงกลางน่าฟัง ลื่นไหล ถ่ายทอดอักขระได้ชัดเจนมาก เบสมีปริมาณที่ดี มีโฟกัสชัดเจน ไล่โน้ตเบสได้ดี มิติดี เวทีเสียงอยู่ลึกเลยกำแพงห้องไปได้

Usher Vol.6 รวมหลายสไตล์ เพลง 1-2 เสียงตีกลองหนักแน่น มีพลังแฝงที่ดี ไม่รู้สึกว่ามีการป้อแป้ เพลงร้องผู้หญิงถ่ายทอดเสียงร้องหวานซึ้งตรึงใจ ส่วน vol.7 เพลง 12 Grooving Kind of Love ถ่ายทอดเสียงร้องชัดเจน ผมได้ยินเสียงห่อปาก กระดกลิ้นที่บันทึกมาชัดเจนกว่าครั้งไหนๆ

Teresa Teng Forever Vol.1 (Golden String GSCD030) แหลมชัดเจน อิ่มฉ่ำ เปิดโปร่ง เบสกระชับเร็ว เสียงเม้าออร์แกนฉ่ำ หวานไม่แห้ง เวทีเสียงกว้างขวาง ไดนามิคดีไม่ตื้ออั้น

เวลาเหลือน้อยลงทุกที ปิดท้ายจึงขยับมาฟังไฟล์ Hi-Res ต่างๆ จากโน้ตบุ๊ค HP G42, CPU Core [email protected] GHz, RAM 2 GB ใช้โปรแกรม JRiver Media Center 19 (ฟรี) สาย Audioquest : Carbon (USB) เริ่มจากเสียงร้องของ Chie Ayado อัลบั้ม Good Life เพลง Tears in Heaven (Flac บิทเรท 2,7xx Kbps) เสียงร้องทรงพลังดุดัน ไม่ป้อแป้ พื้นเสียงสะอาด โฟกัสชัดเจนความถี่ต่ำกระชับ ฉับไว เวทีเสียงกว้างขวาง

เพลง Violin Concertos No.4 ของ Mozart ที่ใช้ต้นฉบับแบบ 24 Bits/192 KHz ไฟล์ Flac มีบิทเรทสูงมากระดับ 5,1xx Kbps เร่งโวลลุ่มดังเป็นพิเศษ สุ้มเสียงนั้นเต็มเปี่ยมด้วยไดนามิคที่ดี สวิงเสียงได้กว้าง ไม่ตื้ออั้น เบสกระชับ เสียงกลางสะอาด เคลียร์มาก ปลายแหลมเปิดโปร่งแต่พลิ้วหวาน ไม่มีจัดจ้านบาดหูแม้แต่น้อย

 IMG_8338

บทสรุป Cary Audio Design : Model 7.250

Cary Audio Design : Model 7.250 เป็นเพาเวอร์แอมป์รุ่นเรือธง ผลิตจากสหรัฐอเมริกาแท้ๆ ลงตัวทั้งรูปลักษณ์ที่สวยงาม รวมถึงน้ำหนักแต่ที่หนักมาก!! ผมคนเดียวยกไม่ไหวครับ ด้วยพละกำลังที่ดี สามารถขับชุดโฮมเธียเตอร์ได้เกือบทั้งหมดในตลาด ยิ่งคุณใช้ลำโพงดีขึ้นเท่าไหร่ เสียงยิ่งดีขึ้นเป็นลำดับ มีความเป็นมอนิเตอร์ที่ดีไม่ว่าจะปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ร่วมชุดเข้าไปใหม่ก็แจก แจงความต่างออกมาได้

ใครที่หมายปองเพาเวอร์มัลติแชนแนลวัตต์สูงๆ มีแบรนด์เนมที่ดี มีคุณภาพเสียงยอดเยี่ยม ราคาไม่สูงลิบลิ่ว ควรรับไว้พิจารณาครับ

Look; รูปทรงแข็งแกร่งแต่มีไฟหน้าปัดแสดงโลโก้ยี่ห้อที่สวยงาม

Like; Made in USA, ตัวถังใหญ่อลังการสะใจดี

Love; คุณภาพเสียงที่ดีเยี่ยม มีความเป็นธรรมชาติสูงมาก

 

ขอขอบคุณร้าน Homedigital Theater (Thailand) โทรศัพท์ 086-317-2935 จำกัด ผู้แทนจำหน่ายที่ได้อนุเคราะห์ให้ยืมเครื่องมาทดสอบ