แนะนำซีดี VieTrio อัลบั้ม : Miracle

0

…แรกทีเดียวนั้น ผมไปเจอซีดีชุดนี้ลงขายอยู่ในเพจขายของออนไลน์ของ Nui Pantip …เห็นแล้วก็สะดุดกับคำว่า VieTrio ซึ่งยอมรับว่า ไม่ได้คิดว่า จะเป็นวงดนตรีของไทยอะไรทั้งสิ้น เพราะใจคิดไปถึงความน่าจะเป็นวงดนตรีประเภทริโอของเวียดนาม อะไรทำนองนั้น (จากคำว่า VieT rio …555) จึงได้กดรับแผ่นซีดีนี้มาลองฟัง โดยยังมิได้ค้นหาข้อมูลใดๆ

ครั้นพอซีดีแผ่นนี้มาถึง …ทำเอาผมแปลกใจ อ้าว! นี่มันวงทริโอของคนไทยในบ้านเรานี่เอง …จากนั้นก็สืบค้นข้อมูลคร่าวๆ อัยยะ… ยิ่งสาวลงลึกก็ยิ่งพบข้อมูลน่าทึ่งของวงนี้ ที่ยืนยันได้ว่า ไม่ธรรมดา ! >>> นี่จึงเป็นที่มาของบทความ “แนะนำแผ่นซีดี” ของผมในครั้งนี้ครับ เริ่มต้นกันที่ข้อมูลจาก “วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี” ระบุว่า วีทรีโอ หรือบางครั้งเขียน วี ทรีโอ้ (อังกฤษ: Vie Trio) เป็นกลุ่มดนตรีคลาสสิกัลครอสโอเวอร์ 3 ชิ้น ประกอบด้วยไวโอลิน 2 ตัว และเชลโล ในสังกัดเอ็กแซ็กท์ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โดยนักดนตรีสามพี่น้อง คือ ทวีเวท ศรีณรงค์ (เป้ เล่น ไวโอลิน) อุทัยศรี ศรีณรงค์ (ป่าน เล่น เชลโล) และพินทุสร ศรีณรงค์ (ปุย เล่น ไวโอลิน) ทั้งสามคนเป็นบุตรของ สุทิน ศรีณรงค์ นักดนตรีคลาสสิก ซึ่งเล่นดนตรีคลาสสิกมาตั้งแต่เด็ก และเป็นนักเรียนทุนในพระอุปถัมภ์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547

…ปี 2547 เป็นปีที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงดำริให้มีการสร้างทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิค เพื่อเป็นการสนับสนุนบุคลากร และทรัพยากรทางดนตรีคลาสสิค โดยพระองค์ท่านทรงรับเป็นองค์ประธานและองค์อุปถัมภ์ กองทุนดังกล่าวได้สร้างบุคลากรที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาดนตรีคลาสสิคในไทยด้วยดีตลอดมา รวมถึงครอบครัว “ศรีณรงค์” ที่มีพื้นฐานทางดนตรีคลาสสิคจากครอบครัวโดยมีคุณพ่อ คือ อ. สุทิน ศรีณรงค์ ผู้อำนวยการด้านดนตรีและผู้อำนวยเพลงวงดุริยางค์เยาวชนไทยในปัจจุบัน ซึ่งให้การปลูกฝังลูกๆ ทั้งสามคน และ 2 ใน 3 คนก็เป็นนักเรียนทุนในโครงการดังกล่าวอีกด้วย

เริ่มจากพี่ชาย คือ เป้- ทวีเวท ศรีณรงค์ นักเรียนทุนดนตรีเพื่อส่งเสริมดนตรีคลาสสิคในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ – เป้ เป็นนักดนตรี ไวโอลิน ปัจจุบันอายุ 38 ปี หนึ่งในนักเรียนทุนผู้ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ประทานทุนส่วนพระองค์ให้เรียนต่อในระดับปริญญาตรี สาขาดนตรีคลาสสิค โดยหลังจากจบปริญญาตรีแล้ว พระองค์ท่านยังประทานทุนเรียนต่อในระดับอนุปริญญาตรีอีกใบหนึ่ง และต่อด้วยการเรียนระดับปริญญาโทในสาขาเดียวกันที่

มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา ซึ่ง “เป้” ก็ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทางด้านดนตรีที่ มหาวิทยาลัยเยล หากนับแล้วอาจถือว่า เป็นประกาศนียบัตรใบที่ 5 ของเขา ซึ่งถือว่า ไม่น้อยเลยกับการมุ่งมั่นทางวิชาชีพแขนงนี้

ในขณะที่น้องสาวคนรอง ป่าน- อุทัยศรี ศรีณรงค์ นักดนตรี เชลโล วัย 36 ปี ฝึกฝนดนตรีด้วยการเริ่มเล่นเปียโนมาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ต่อมาจึงเริ่มหัดเล่นไวโอลิน และเริ่มสนใจการเล่นเชลโลอย่างจริงจังเมื่ออายุ 14 ปี เมื่อเข้าเรียนใน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึงปี 2 “ป่าน” ก็ได้รับทุนจากสมเด็จพระพี่นางฯ ให้เข้าเรียนต่อทางด้านดนตรีคลาสสิคที่ Hong Kong Academy for Performing Arts โดยตั้งใจจะเลือกเส้นทางนักดนตรีเป็นอาชีพ

ส่วนน้องสาวคนเล็ก ปุย- พินทุสร ศรีณรงค์ ซึ่งจบการศึกษาที่ คณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็มีความสามารถไม่ยิ่งหย่อยไปกว่าพี่ๆ ในฐานะนักดนตรี ไวโอลิน ทั้งยังสร้างชื่อเสียงให้ตัวเองในตำแหน่ง หัวหน้าวงดุริยางค์เยาวชนไทย ในพระอุปถัมป์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ และยังรับงานเป็นอาจารย์สอนดนตรีควบคู่กับการเรียนไปด้วยในปัจจุบัน …ขออนุญาตนำคำตอบจากคำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นกับใครหลายคน ซึ่งก็คงอยากรู้ไม่ต่างกันว่า “เหตุใดพวกเขาจึงสนใจในศาสตร์ของดนตรีคลาสสิก” ซึ่งพวกเขาก็ได้บอกไว้อย่างคมคายว่า… “การที่เราทั้งสามคนเติบโตมากับสังคมดนตรีคลาสสิก พร้อมๆ กับเพลงกระแสนิยม ทำให้เรามองเห็นช่องว่างของดนตรีประเภทดังกล่าวกับดนตรีคลาสสิก และต้องการลบช่องโหว่นั้นทิ้งไป ดังนั้นเมื่อเรามีโอกาสทำอัลบั้มผลงานเพลง จึงเป็นโอกาสดีที่เราจะทำให้คนเปลี่ยนทัศนะคติกับดนตรีคลาสสิก โดยทำให้พวกเขามองเห็นว่า ดนตรีคลากสิกไม่ใช่ดนตรีสำหรับสังคมชั้นสูง แต่มันเป็นดนตรีสำหรับทุกๆ คน ไม่ต้องใส่สูธผูกไท นั่งฟังตัวแข็งในโรงละครเท่านั้น เราต้องการให้ดนตรีคลาสสิกกลายเป็นดนตรีที่คนไทยคุ้นเคย และรู้สึกสบายๆ กับมันมากกว่า

โดยการใช้เครื่องดนตรีคลาสสิกบรรเลงให้มีความร่วมสมัย และมีลักษณะของดนตรีประเภทที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เช่น ป๊อบ แรพ และร็อค เป็นต้น ทั้งนี้เราไม่ได้เอาดนตรีคลาสสิกมาทำให้เป็นดนตรีร่วมสมัยเท่านั้น แต่เราทำให้ท่วงทำนองของดนตรีคลาสสิกมาเรียบเรียงในลักษณะที่นิยมในปัจจุบันด้วย ซึ่งจะเป็นการ educate คนไทยทางอ้อม และนี่คือจุดเชื่อมโยงระหว่างดนตรีสองประเภทที่เรากล่าวถึง”

Vie Trio : กับบทบาทใหม่ในฐานะศิลปิน สำหรับความเป็นอัลบั้มแรกของพวกเขาทั้งสามคน อันเป็นการทำงานร่วมกันของ 3 พี่น้องในฐานะนักดนตรี ซึ่งนี่คือความท้าทายที่แปลกออกไปจากการแสดงในครั้งไหนๆ เพราะเป็นอัลบั้มที่พวกเขามีเพลงของตัวเอง ในสไตล์ที่เป็นตัวเอง และนำเสนอด้วยตัวเอง ในนาม Vie Trio (วี ทรีโอ) ภายใต้สังกัดของ เอ็กแซคท์ โดยใช้ชื่ออัลบั้มว่า ‘Miracle’ ซึ่งความหมายจะเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจากความมหัศจรรย์ที่พวกเขาประยุกต์เอาเพลงป๊อปและดนตรีคลาสสิคมาเชื่อมโยงไว้ด้วยกัน

เห็นไหมครับว่า VieTrio นี่ไม่ธรรมดา มีที่มาที่ไปชัดเจน ในระดับสากลเลยก็ว่าได้ …มาดูผลงานเพลงของสามศรีพี่น้องนี้กันบ้าง ซึ่งจาก “วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี” รวบรวมไว้ดังนี้ครับ

# Miracle (2551)

Miracle

รักนี้ที่รอคอย Immortal Feat.น๊อต Retrospect เพลงแทนใจ Feat.อาร์ เดอะสตาร์ Young Blood Feat.กาย G-Junior ใบไม้ Feat.แก้ม เดอะสตาร์

Soul of Siam ผู้ชายในสายฝน Feat.รุจ เดอะสตาร์

Wedding

Confession

Happy Night

Rain Instrumental

# VieTrio Love Birds (2552)

Hot Album

สบาย สบาย

โอ้ละหนอ My Love

คู่กัด

มาทำไม

ขออุ้มหน่อย

หมอกหรือควัน

สัญญาต้องเป็นสัญญา

ถ่านไฟเก่า

บูมเมอแรง

จับมือกันไว้

Cool Album

อยู่เพื่อใคร

เธอคนเดียว

เหมือนเป็นคนอื่น

ด้วยรักและผูกพัน

อย่าต่อรองหัวใจ

เล่าสู่กันฟัง

หมั่นคอยดูแลและรักษาดวงใจ

พักตรงนี้

เธอ…ผู้ไม่แพ้

ฝากฟ้าทะเลฝัน Feat. หมู MUZU

# VieTrio & Friends (2553)

Voyage (CD Only Track) หวังดีประสงค์รัก Feat.กัน เดอะ สตาร์ หยดน้ำตา Feat.เป็ก ผลิตโชค First Kiss Feat. PETE POL เครื่องมือวัดใจ Feat.เอ นรินทร์ รอยบาปที่ลบไม่ออก Feat.นัท มีเรีย วิธีเลิก วิธีลืม Feat.ดิว เดอะสตาร์ 5 เธอหลอกฉัน ฉันหลอกเธอ Feat.รุจ เดอะสตาร์ รักแพ้.. แม้ใกล้ชิด Feat.แก้ม เดอะสตาร์ วางชีวิตไว้กับคนนี้ Feat.เจมส์ เรืองศักดิ์

Miracle (VCD Karaoke Only Track)

# Single’ (2559) (จีนี่ เรคคอร์ดส)

ลูกขอสัญญา – Big Ass | ตูน Bodyslam | เมธี Labanoon | Vietrio

# Featuring’ (2566)

MV ไม่ปล่อยมือ Orchestra version – การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

อัลบั้ม “มิราเคิล” เป็นงานเพลงชุดแรกของวง วี ทรี ซึ่งจะเป็นการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้วงการดนตรีคลาสสิค โดยมีคอนเซปท์ดนตรีในอัลบั้มนี้ว่า “อัลบั้มนี้ของเราก็จะนำเพลงคลาสสิคทำนองที่ฟังง่ายๆ มาผสมกับจังหวะสนุกสนาน ทำให้เราฟังกันง่ายขึ้น ซึ่งจะเป็นการนำเสนอสไตล์เพลงแบบที่เรียกทับศัพท์ว่า song without word แปลว่า เพลงร้องที่ไม่มีเนื้อร้อง คือฟังเหมือนเพลงร้องทั่วไปสบายๆ แต่จินตนาการเสียงร้องเป็นเสียงไวโอลินกับเสียงเชลโลแทน ดนตรีของเราก็จะมีหลายสไตล์ หลายแบบมาก” ซึ่งนอกจากจะมีเพลงคลาสสิกให้ฟังแล้ว ยังมีเสียงร้องใน 2 บทเพลง ซึ่งได้ อาร์ และรุจ เดอะสตาร์ ร่วมผสานเสียงไว้เป็นพิเศษอีกด้วย สำหรับอัลบั้ม VieTrio Love Birds (2552) พี่ที่ผมหยิบจับมาแนะนำ เป็นการหยิบเอา 20 เพลงฮิตของ “พี่เบิร์ด” – ธงไชย แมคอินไตย์ มาทำใหม่ “VieTrio Love Birds” สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้วงการเพลงไทยจนเป็นที่กล่าวขวัญ

“อัลบั้มนี้ถือเป็นอัลบั้มชุดพิเศษที่พวกเรานำเพลงของพี่เบิร์ด-ธงไชย มาทำใหม่ในสไตล์วีทรีโอ คือ เพลงร้องไม่มีเนื้อ (song without word) ถือว่า เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถมากๆ เพราะเรานำเพลงที่ดีอยู่แล้วมาทำใหม่ จึงต้องหาไอเดียใหม่ๆ มาทำให้แต่ละเพลงลงตัวที่สุด และต้องทำให้คนฟังรู้ได้ทันทีว่า เป็นเพลงอะไร สำหรับคำว่า ‘Love Birds’ จริงๆ แล้วหมายถึง คู่รัก คู่ฮันนีมูน แต่ในความหมายของพวกเรา คือ พวกเรารักเพลงของพี่เบิร์ด …เลยคิดว่าชื่อนี้น่าจะลงตัวที่สุด

อัลบั้ม “VieTrio Love Birds” มีทั้งหมด 20 เพลงด้วยกัน แบ่งเป็น 2 อัลบั้ม คือ ‘hot album’ เป็นเพลงจังหวะสนุกๆ ที่ทุกคนสามารถลุกขึ้นมาเต้นได้ และ ‘cool album’เป็นเพลงช้าฟังสบาย แนวดนตรีก็มีหลากหลายสไตล์ผสมผสานอยู่ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นป็อป, ร็อค, เทคโนแดนซ์, อะคูสติก กระทั่งลูกทุ่งก็มีให้ฟัง

………………………………………………………………………………………………………………………………………