เรื่องลึกๆ ที่คุณ(อาจ)ไม่เคยได้รู้…
• รู้ไหมว่า Denmark นั้นมีทักษะ-ความชำนาญ (Skill) ในด้านการทำ และ Design เฟอร์นิเจอร์เป็นอันดับต้นๆ ของโลก
• รู้ไหมว่า ลำโพงแบบ Dynamic Speaker (วอยซ์คอยล์/ตัวกรวยเคลื่อนที่) ที่เรา-ท่านคุ้นชินกันนั้น ถือกำเนิดขึ้นใน Denmark โดยคน Denmark เป็นต้นคิด และการทำลำโพงถือเป็นอุตสาหกรรมหลักของ Denmark ในแบบเหมือนกับที่เยอรมันเก่งเรื่องทำรถยนต์, ญี่ปุ่นเก่งเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ อะไรประมาณนั้น (ลองนึกถึงแบรนด์ที่โด่งดังเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก อย่างเช่น Scanspeak, Vifa, Peerless ก็เป็นของ Denmark)
• รู้ไหมว่า ชื่อของ Dynaudio นี่มาจากคำว่า ‘Dyn’ ซึ่งเป็นคำเรียกคนเดนมาร์ก (Denmark + Audio = DynAudio)
• รู้ไหมว่า Dynaudio เริ่มต้นจากการที่เฟ้นหาลำโพงในแวดวงแล้วไม่ชอบ-ไม่ถูกใจ เลยไม่เลือกนำมาใช้งาน แล้วตัดสินใจออกแบบและผลิต Driver เป็นของตัวเอง เมื่อกว่า 40 ปีมาแล้ว กระทั่งปัจจุบัน Dynaudio ได้ชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับว่า เหมือนเป็น R&D ของโลกลำโพง
• รู้ไหมว่า รุ่นลำโพงในตำนานของ Dynaudio อย่างเช่น Contour, Special 25, Consequence, Evidence, Confidence, Heritage Special เหล่านี้ แม้ออกจำหน่ายมานานแล้ว ก็ยังเป็นที่ปรารถนา อยากได้มาครอบครองกัน (The Most Sought After) มากสุดๆ
• รู้ไหมว่า Driver ของ Dynaudio ล้วนออกแบบ-สร้างในโรงงานของตัวเองทั้งหมด (100% In-House) จึงสามารถมีอะไหล่มา support ได้ตลอดเวลา แม้ว่าจะเป็น model เก่าเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ซึ่งหาได้ยากมากจากลำโพงอื่นๆ (Dynaudio ได้ชื่อเรื่องทนทานมาก กล้าให้การรับประกันถึง 5 ปี
• รู้ไหมว่า Dynaudio มีห้องปฏิบัติการเพื่อการทดลอง-ค้นคว้าขนาดใหญ่ยักษ์ รูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ (Cube) ที่ชื่อว่า Jupiter ซึ่งมีความสูง ความกว้าง ความยาวถึง 13 ม. เพื่อทำเป็นห้องมหึมาที่มีความสงัดเทียบเท่ากับห้องไร้เสียงสะท้อน พร้อมเป็นอาคารแล็บของ Dynaudio (Dynaudio Labs Building) ใช้ในการหาค่า Parameter ได้รวดเร็วรอบตัว 360◦ ในแบบ Real-Time
• รู้ไหมว่า Dynaudio Directivity Control (DDC) ช่วยกำหนดทิศทางการยิงของเสียง ช่วยลด Effect การกวนของเพดานและพื้นออกไป และเพิ่มความเข้มของเสียงในแนวที่เข้ามายังพื้นที่-ตำแหน่งนั่งฟัง ซึ่งก่อนหน้านี้ Dynaudio ใช้ Driver จำนวน 2 ชุด แล้วต้องออกแบบวงจร Cross Over ให้ทำงานในลักษณะ Phase ตรงกันหมด และ Driver ที่ใช้ต้อง Match Paired กัน ทว่าตอนนี้ใช้การออกแบบแผงหน้าตัวตู้ (Front Baffle) ที่ทำหน้าที่ Control มุมกระจายเสียง อย่างที่ Dynaudio เรียกว่า DDC Lens ซึ่งทำให้สามารถจัดการได้ผลลัพธ์ดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งการใช้งาน DDC Lens นี้เกิดจากการใช้ห้องปฏิบัติการ Jupiter ในการตรวจวัดค่า ทำให้ Dynaudio ได้ข้อมูลต่างๆ มาอีกเยอะมาก
• รู้ไหมว่า Compex Composite Baffle มีน้ำหนักเบามากๆ ในขณะที่ให้ความแข็งแกร่ง-คงทนเป็นพิเศษ ดูดซับเสียงได้ดีเยี่ยม และมีความเฉื่อยทางอะคูสติก (Acoustically Inert) ทั้งยังสะท้อนรูปลักษณ์ที่ทันสมัยในด้านสุนทรียภาพและเสียงเป็นหลัก ที่สำคัญสามารถขึ้นรูปใน Shape ที่ต้องการได้ จนเป็นส่วนสำคัญของระบบเลนส์ DDC ที่ให้ทั้งการเชื่อมต่อและแยกไดรเวอร์ที่สมบูรณ์แบบ (Perfect Coupling And Decoupling)
• รู้ไหมว่า กระทั่งขาตั้งลำโพงของ Dynaudio ถ้าเอียงไม่เกิน 30% จะไม่ล้มเด็ดขาด
Dynaudio History
Dynaudio ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1977 ที่เมือง Skanderborg ประเทศ Denmark เริ่มต้นจากความต้องการของกลุ่มวิศวกรที่ต้องการจะพัฒนาลำโพงที่ถ่ายทอดเสียงดนตรีได้ดีที่สุดให้ตรงตามที่ศิลปิน และ Sound Engineer ต้องการถ่ายทอดออกมา
ซึ่งในยุคนั้น ผู้ผลิตลำโพงส่วนใหญ่เน้นที่การการตอบสนองความถี่ของเสียง แต่ Dynaudio มุ่งเน้นการวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง Phase และ Transient ซึ่งถือว่า ล้ำหน้ามาก เพราะปัจจุบันทราบแล้วว่า Phase และ Transient เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการได้มาซึ่งการเล่นกลับ (Playback) เสียงดนตรีที่ถูกต้อง และจากจุดนั้นเองที่ Dynaudio มองว่า ไม่สามารถหา Driver ที่จะตอบสนองความต้องการได้ จึงได้เริ่มต้นคิดค้นเทคโนโลยีที่จะผลิต Driver ของตัวเอง และสร้างลำโพง P Series และ Model 100, 200, 300 ขึ้นมาในช่วงปี 80’s แล้ว
ต่อมาปี 1983 ก็ได้ส่งลำโพงรุ่น Consequence ออกสู่ตลาด และได้รับการยอมรับในด้านคุณภาพเสียงเป็นอย่างมาก จนทำให้ชื่อของ Dynaudio เกิดในฐานะผู้ผลิตลำโพงที่ดีที่สุดเจ้าหนึ่งในโลก
ลำโพงรุ่น Consequence ยังคงมีจำหน่ายมาจนถึงปี 2019 จนถือได้ว่าเป็นลำโพงไฮ-เอนด์ที่วางจำหน่ายยาวนานที่สุด ในปี 1989 Dynaudio ได้นำเอาผลงานการวิจัยมาใช้ในการสร้างลำโพงเล็ก และปล่อยลำโพง Contour Series ออกสู่ตลาด สร้างความประหลาดใจกับคุณภาพต่อขนาดของเสียงที่ได้จากลำโพงเล็กอย่าง Contour 1.3 SE จนกลายเป็นหนึ่งในลำโพงในตำนานมาถึงปัจจุบัน รวมถึงประเทศไทยที่มักอ้างถึง Contour 1.3 SE ว่าเป็น 1 ใน 4 ลำโพง “จตุรเทพ” ของลำโพงวางขาตั้ง (Bookshelf) โดยลำโพง Contour ใน Generation แรก ถือได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และ สามารถยืนหยัดอยู่ในตลาดได้นานถึง 15 ปี ก่อนที่จะมีการ Upgrade ซึ่งถือเป็นเครื่องพิสูจน์คุณภาพได้เป็นอย่างดี ในปี 1999 Dynaudio ได้คิดค้นลำโพง ‘Cost No Object’ รุ่น Evidence ออกมา ซึ่งถือเป็นลำโพงที่ดีที่สุดในโลกรุ่นหนึ่งที่มีจำหน่ายมาถึงปัจจุบัน และถูกใช้งานเป็น Reference สำหรับผู้ผลิตเครื่องเสียงและหนังสือเครื่องเสียงมากมาย ลำโพงรุ่นนี้เป็นจุดเริ่มต้นของ DDC (Dynaudio Directivity Control) ที่อาศัยการทำงานของ Driver คู่ ในลำโพง 1 ข้าง เช่น Tweeter จำนวน 2 ตัวในลำโพง 1 ข้าง และออกแบบ Crossover Network ให้ Driver คู่นั้นๆ ทำงานที่ค่าเฟสต่างกัน เพื่อให้เสียงเดินทางมาสู่ตำแหน่งนั่งฟังในลักษณะลำเสียง (Beam Sound) ช่วยลดเสียงสะท้อนของพื้นและเพดานได้มากกว่า 75% ทำให้ได้ยินรายละเอียดเสียงเล็กๆ น้อยๆ ที่ตำแหน่งนั่งฟังได้ดีขึ้น และมีมิติโฟกัสที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
“Jupiter” เป็นเสมือนห้องทดลอง วิจัยทางด้านเสียงขนาดใหญ่ยักษ์ของ Dynaudio ที่พูดได้ว่า มีขนาดกว้างใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้มีสภาพภายในที่คล้ายกับ ห้องไร้เสียงสะท้อน (Anechonic) ที่มีศักยภาพสูงมากๆ ภายใต้เทคโนโลยีอันล้ำสมัย
ในปี 2002 Dynaudio ได้ออกจำหน่ายรุ่น Confidence ซึ่งใช้เทคโนโลยี DDC จากรุ่น Evidence ในราคาที่จับต้องได้ง่ายมากขึ้น พร้อม Esotar2 -Tweeter Soft Dome ตัวใหม่ ที่พัฒนาจาก Classic Esotar ในตำนาน และทำให้ Confidence ได้กลายเป็นบรรทัดฐานของลำโพง High-End อย่างยาวนานเกือบ 2 ทศวรรษ ได้รับคำชื่นชมจากสื่อเครื่องเสียงต่างๆ มากมาย อาทิ Stereophile Class A สำหรับรุ่น C1 ที่เป็น Book Shelf และ C4 ที่เป็นรุ่น Tower จนถึงปัจจุบัน Dynaudio ได้รับการยอมรับว่า เป็นเสาหลักของการคิดค้น วิจัย และผลิตลำโพงที่ดีที่สุดในยุโรป โดยอาศัยห้องวิจัย “Jupiter” ที่ Dynaudio ได้สร้างขึ้นมาอย่างอลังการ พร้อมใช้ในการวัดค่าเสียงจากลำโพงในทุกๆ มุม ทุกๆ ความถี่เสียงซึ่งถือได้ว่า ทันสมัย ที่สุดในปัจจุบัน ทำให้ Dynaudio มีความได้เปรียบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อครอบคลุม ตลาดทั้งสำหรับใช้ในบ้าน ใน Studio และในรถยนต์ อีกทั้งดอกลำโพงของ Dynaudio เองก็ได้รับ การยอมรับและถูกนำไปใช้ในลำโพงระดับไฮ-เอนด์มากมาย ผ“Jupiter” เป็นเสมือนห้องทดลอง วิจัยทางด้านเสียงขนาดใหญ่ยักษ์ของ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Esotar Tweeter ที่ถือได้ว่า เป็น Tweeter ที่ดีที่สุดในโลก ลำโพงแต่ละรุ่นของ Dynaudio สามารถจำหน่ายอยู่ได้นานกว่าจะต้อง upgrade หรือออกรุ่นใหม่มาทดแทน นั่นเป็นเครื่องพิสูจน์ปรัชญาของ Dynaudio ว่า ถ้าสร้างสรรค์สิ่งที่ดีจริงๆ ออกมา สิ่งนั้นก็จะสามารถยืนหยัดอยู่ได้นาน กว่าที่คนอื่นจะตามทัน และสำหรับผู้บริโภคแล้ว การลงทุนในลำโพง Dynaudio จึงเป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่สุด
“The New Confidence” เป็นความท้าทายของทีมออกแบบลำโพงของ Dynaudio ที่จะทำให้มันเหนือกว่าลำโพงรุ่นเดิมที่ดีเยี่ยมยอดอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีกขั้น ด้วยความมุ่งมั่นและประสบการณ์ที่สะสมมาอย่างยาวนาน รวมกับการเกิดขึ้นของห้องวิจัย Jupiter ใหม่ ทำให้ทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมา และนำมาใช้กับลำโพงรุ่น Confidence ใหม่ เป็นรุ่นแรก ก่อนจะนำมันมาใช้กับผลิตภัณฑ์รุ่นอื่นๆ อีกต่อไปในอนาคต โดยที่ Confidence ใหม่ยังคงไว้ซึ่งจุดเด่นเรื่อง DDC หรือ Dynaudio Directivity Control ที่มีอยู่เดิม แต่ได้พัฒนาต่อยอดขึ้นไปอีกขั้น โดยการใช้ DDC (Dynaudio Directivity Control) Lens เข้ามาช่วยเสริม และยังได้ Tweeter ระดับ Flagship ตัวใหม่ อย่าง Esotar 3 ที่เริ่มใช้งานใน The New Confidence เป็นครั้งแรก “Esotar3 Tweeter” ตัวขับเสียงแหลมที่ดีที่สุดที่ Dynaudio เคยสร้างขึ้นมา ด้วยพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดจาก Esotar2 โดยการออกแบบให้มี ‘Hexis Dome’ ทำหน้าที่เป็น Acoustic Dome ซ้อนอยู่ด้านหลังตัวโดมของ Tweeter เพื่อทำการลด Resonance ให้ต่ำลงในย่านความถี่ที่กว้างกว่าเดิม ทำให้ “Esotar3 Tweeter” สามารถตอบสนองความถี่แบบไร้ซึ่ง Resonance (ความถี่สั่นค้าง) ลง ไปได้ถึง 700Hz ทำให้สามารถออกแบบให้ลำโพงมีเสียงกลางขึ้นมาถึงเสียงสูงที่ต่อเนื่องทั้งความถี่และค่าเฟสมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
DDC Lens เป็นการออกแบบมุมของแผงหน้าลำโพง (Front Baffle) ใหม่ ทำให้สามารถควบคุมมุมกระจายเสียงของ Driver ได้ดียิ่งขึ้นกว่า DDC ดั้งเดิม ที่อาศัยแค่ Cross Over Network และ Driver ที่ว่างคู่ขนานกัน ทำให้ได้มิติและโฟกัสที่ดีกว่าเดิม ช่วยลดเสียงสะท้อนที่เกิดจากพื้นและเพดานได้มากกว่าเดิม แต่ยุ่งเกี่ยวกับ Cross Over Network น้อยลง รวมไปถึง Compex Baffle แผงหน้าลำโพงทำจากวัสดุผสมที่เรียกว่า Advanced Composite Material ทำการฉีดขึ้นรูป ซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่สูงมาก และไม่ได้มีแค่ความสวยงาม เท่านั้น แต่ยังมีน้ำหนักที่เบามากยิ่งกว่าวัสดุ MDF และแกร่งพอที่จะเป็นตัวยึดดอกลำโพง และสร้าง DDC Lens ที่ให้มุมองศาที่ถูกต้อง ทั้งยังให้ค่า Damping ที่ดีมาก เพื่อลด Resonance (สามารถเคาะฟัง เทียบความแตกต่างได้) นอกจากนั้น Neotech Woofer ลำโพงขับเสียงต่ำสำหรับ The New Confidence ยังใช้แม่เหล็ก Neodymium ซึ่งเป็นแม่เหล็กราคาแพง ที่ปกตินั้นมีการใช้กันแค่ใน Tweeter เท่านั้น มาใช้ใน Woofer เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กที่มีพลังสูง และตอบสนองต่อรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ได้ดียิ่งขึ้น
Contour Series
Dynaudio Contour ถือได้ว่าเป็นตำนานของวงการเครื่องเสียง และเป็นรุ่นที่สร้างชื่อให้กับไดนาว ออดิโอเป็นอย่างมาก แม้จะมีการปรับปรุง-อัปเกรดปรับเปลี่ยนรูปแบบมาแล้วหลายครั้งตลอดระยะเวลากว่า 32 ปี เร่มต้นจากปี 1986 จนถึงปัจจุบัน แต่ไม่เคยมีครั้งใดที่จะมีการออกแบบใหม่ทั้งหมดเหมือนเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็น-ตัวขับเสียงแหลม นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ลำโพง Contour Series ใช้ทวีตเตอร์ Esotar2 ซึ่งถือเป็นทวีตเตอร์แบบ Soft Dome ที่ดีที่สุดของ Dynaudio ซึ่งใช้อยู่ในลำโพงรุ่นสูงอย่าง Confidence และ Evidence ของไดนาว ออดิโอเอง หรือแม้กระทั่งในลำโพงราคาหลักล้านยี่ห้ออื่นๆ โดยให้เสียงแหลมที่หวาน ทอดไกล มีไดนามิก ที่สำคัญสามารถตอบสนองความถี่เสียงแหลมได้ราบเรียบ ปราศจากซึ่ง Ringing Effect อย่างที่โดมโลหะอื่นไม่สามารถเทียบได้-Woofer ใช้ตัวขับเสียงทุ้มใหม่ที่มี Dust Cap เล็กลง ตัวกรวยขึ้นรูปด้วยวัสดุ MSP (Magnesium Silica Polymer) ชิ้นเดียว ไร้รอยต่อ ได้รับการออกแบบให้มีความหนาที่ต่างกันในกรวยลำโพง เพื่อเพิ่มค่าความแกร่งแต่เบา เมื่อบวกกับการใช้แม่เหล็กแบบ 2 ชั้น ร่วมกับการออกแบบขอบยางและ Spider ใหม่ พร้อมด้วยอะลูมิเนียมวอยซ์ คอยล์ทำให้วูฟเฟอร์ใหม่นี้สามารถมีระยะขยับตัวได้เพิ่มขึ้นถึง 75% จึงให้เสียงเบสที่ลงได้ลึก มีพลัง มีไดนามิคมากกว่าเดิม
– การออกแบบตู้ใหม่ มีการลบมุมเพื่อประโยชน์ด้านเสียง และมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น โดยการใช้อะลูมินั่มหนา 15 มม. มาประกบกับไม้ MDF 20 มม. เพื่อทำแผงหน้าตัวตู้ลำโพง เพิ่มความแกร่งรอบตัวตู้ด้วยการคาดโครงคร่าวภายใน ในตำแหน่งที่เหมาะสม ตัวตู้ถูกผลิตขึ้นด้วยมืออย่างประณีต ใช้ไม้จริงลงแลคเกอร์ถึง 11 ชั้น โดยทีมช่างในโรงงานของไดนาว ออดิโอเองที่เดนมาร์ก ซึ่งการทำจะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ต่อคู่
-ใช้อุปกรณ์ระดับสูงอย่างขั้วต่อลำโพง WBT หรือ คาปาซิเตอร์ Mundorf ใน Cross Over Network ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ Dynaudio Contour ใหม่ให้เสียงกลาง-แหลมที่มีรายละเอียดสูง ให้มิติเวทีเสียงยอดเยี่ยม และมีเสียงเบสที่ลงได้ลึก มีพลังเกินตัวมากขึ้น สามารถถ่ายทอดอารมณ์ของศิลปินออกมาให้ได้รับฟังอย่างไร้ข้อจำกัด “Dynaudio Contour” ได้รับรางวัลมากมายทั้ง Class A Stereophile, EISA Award Best Bookshelf Speakers และได้รับการรีวิวอย่างยอดเยี่ยมจากแทบทุกสำนักรีวิวทั้งในและต่างประเทศ จนถือว่าเป็นการสร้างตำนานบทใหม่อย่างแท้จริง
Evoke Series
Evoke มีความหมายว่า “การปลุกให้ตื่นขึ้นจากภวังค์เพื่อรับรู้ถึงสรรพสิ่ง” และนี่คือ ชื่อของลำโพงในอนุกรมใหม่ของ Dynaudio ที่จะมาแทรกตัวอยู่ระหว่างอนุกรม Emit และ Contour ทั้งนี้ภายใต้หน้าตาที่ดูเรียบง่ายแสนธรรมดาของลำโพงในอนุกรม Evoke ได้ซ่อนเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่สุดของการออกแบบ Driver เอาไว้อย่างแยบยล พร้อมก้าวเข้าสู่โลกแห่ง High-End Loudspeaker อย่างแท้จริง ‘Cerotar Tweeter’ เป็นตัวขับเสียงแหลมแบบ Soft Dome รุ่นใหม่ ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาจาก Esotar3 ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปี 2018 กับ The New Confidence และ Esotar 40 ของ Dynaudio Special 40 ที่กวาดรางวัลมามากมาย โดยมีจุดประสงค์ที่จะออกแบบลำโพงเสียงแหลมที่ปราศจาก Resonance (ความถี่สั่นค้าง) ที่ทำให้เกิดความเพี้ยนของเสียง โดยทีมวิศวกรของ Dynaudio ใช้ Back Chamber Airflow ใหม่ ที่นำมาจาก Esotar 40 และเพิ่มการใช้ HEXIS Dome ซึ่งเป็น Dome ที่ออกแบบพิเศษ ซ้อนอยู่ด้านหลังของ Soft Dome อีกที ถือเป็นการนำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจาก Flagship Tweeter อย่าง Esotar3 มาใช้ เพื่อจัดการกับคลื่นเสียงที่อยู่ด้านหลังส่วนที่ใกล้โดมมากที่สุด ทำให้ตัว Soft Dome สามารถทำงานได้อย่างอิสระมากยิ่งขึ้นในทุกย่านความถี่ ผลลัพธ์ของการใช้เทคโนโลยีในระดับนี้ ทำให้ ‘Cerotar Tweeter’ สามารถตอบสนองความถี่โดยปราศจาก Resonance ลงไปได้ต่ำถึง 700Hz ซึ่งแทบจะเรียกได้ว่า มันสามารถขับเสียงกลางออกมาจาก Tweeter กันเลยทีเดียว ทำให้การออกแบบจุดตัด หรือรอยต่อระหว่างตัวขับเสียงแหลมกับกลาง/ต่ำทำได้ง่าย และมีความต่อเนื่องมากขึ้น ทั้งในแง่ของเฟสสัญญาณและความเพี้ยนที่จะเกิดขึ้น ส่งผลต่อสิ่งที่เรียกว่า Driver Integration รวมไปถึงเสียงกลางที่ดีขึ้นอย่างชัดแจ้ง รวมถึงช่วยทำให้มีมิติเวทีเสียงที่แม่นยำจากเฟสสัญญาณที่ถูกต้องมากขึ้น
นอกจากนั้น ‘Cerotar Tweeter’ ยังมาพร้อมกับแม่เหล็ก Ceramic (Strontium Carbonate Ferrite+ Ceramic) ที่ให้ความเข้มของสนามแม่เหล็กสูง ช่วยการตอบสนองความถี่ในเรนจ์ที่กว้างขวาง แบบไม่มีความผิดเพี้ยน (Distortion) ทำให้สามารถเปิดฟังได้ดัง โดยยังคงให้เสียงที่มีรายละเอียดได้ดีคงเดิม ‘MSP Woofer’ ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาจาก Dynaudio Contour ซึ่งถือเป็น Dynaudio ยุคใหม่อย่างแท้จริง โดยจะสังเกตเห็นขนาดของวอยซ์ คอยล์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่เล็กลง แต่ลึกมากขึ้น และใช้การออกแบบให้มีระยะการเคลื่อนตัวที่มากขึ้น (Long Throw) โดยมีการออกแบบขอบยาง และ Spider ใหม่ ทำให้สามารถตอบสนองความถี่ตั้งแต่เสียงต่ำมาถึงย่านเสียงกลางได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม นอกจากนั้นยังมีการใช้แม่เหล็ก Ceramic (Strontium Carbonate Ferrite+ Ceramic) ใน Woofer อีกด้วย
Emit Series
ลำโพงในซีรีส์ “เริ่มต้น” ของไดนาว ออดิโอ “ขับง่าย วางง่าย ไม่กินวัตต์ ให้เสียงแบบ Dynaudio ในราคาสุดคุ้ม” ที่ถือเป็นก้าวแรกในการก้าวสู่เครื่องเสียงไฮ-เอนด์ ให้ความคุ้มค่าสูง ถูกออกแบบมา ให้เล่นได้ง่าย ขับได้ง่ายโดยแอมป์ทั่วไปรวมถึงเอ/วี รีซีฟเวอร์ เนื่องจากค่าความต้านทานลำโพงจะค่อนข้างคงที่ และยังออกแบบมาให้ง่ายต่อการจัดวาง ตั้งวางเพียงง่ายๆ ก็ให้เสียงที่ดีได้ เหมาะกับทั้งการฟังเพลง หรือจัดชุดโฮมเธียเตอร์คุณภาพสูงที่ต้องการทั้งการดูหนัง และฟังเพลงในชุดเดียวกัน ในแบบที่เรียกว่า Audiophile Home Theater แม้จะเป็นเพียงรุ่นเริ่มต้น แต่ก็มี DNA ของ Dynaudio เต็มรูปแบบ เริ่มตั้งแต่การออกแบบและการผลิตทั้งหมดทำในโรงงานของ Dynaudio ใน Denmark เพื่อความมั่นใจในเรื่องการควบคุมคุณภาพ-การใช้วูฟเฟอร์ MSP (Magnesium Silicate Polymer) แบบชิ้นเดียวที่มี Dust Cap เอกลักษณ์เฉพาะของ Dynaudio-การใช้ตัวขับเสียงแหลมแบบ Soft Dome ที่สามารถตอบสนองความถี่เสียงแหลมได้ราบเรียบ ไร้อาการ Ringing Effect ที่มักเกิดกับทวีตเตอร์โดมโลหะ
“Dynaudio Emit” ให้เสียงที่ใหญ่เกินตัว มีเนื้อเสียงที่ดีไม่บาง อย่างแตกต่างจากลำโพงในระดับราคาเดียวกัน ในขณะที่เสียงแหลม ทอดยาวไปได้ไกล และมีความราบเรียบของการตอบสนองความถี่ที่ดีมาก ให้มิติเวทีเสียง เกินหน้าราคาลำโพงในระดับเดียวกันไปมาก นั่นทำให้ “Dynaudio Emit” สามารถได้รับคำวิจารณ์ที่ดีจากนักวิจารณ์เครื่องเสียงและกวาดรางวัลมาแล้วมากมาย ซึ่งทั้ง M10 และ M20 ที่ได้ 5 ดาวเต็ม พร้อมรางวัล Best Speakers จาก WHAT HI-FI? ประเทศอังกฤษ; Hifi Critics นิตยสารเครื่องเสียงที่ถือว่า เป็นกลางที่สุดให้รางวัล Best Buy คุ้มค่าสุดๆ กับ Emit M10 และสำหรับการจัดชุด Home Theater ทางนิตยสาร Home Cinema ให้รางวัล Best Buy กับชุด Emit M30, M10 และ Emit M15C โดยวิจารณ์ว่า เป็นชุดที่ให้รายละเอียดสูงมาก และมีเสียงเบสที่หนักแน่นเป็นพิเศษ
Special Forty
Special Forty ถือเป็นรุ่นพิเศษ ที่ออกแบบมาเพื่อฉลองครบรอบ 40 ปีของ Dynaudio โดยต้องการคงไว้ซึ่งความเป็นตำนานของ Dynaudio แต่สะท้อนถึงแนวทางการออกแบบในอนาคตที่จะถึง โดยเริ่มจากการใช้ตัวขับเสียงแหลมรุ่น Esotar Forty ที่ดัดแปลงจาก Esotar Tweeter รุ่น Classic ที่ถือเป็น Tweeter ที่ใช้ในลำโพงระดับไฮ-เอนด์มากมาย โดยทางทีมวิศวกรของไดนาว ออดิโอ ได้นำมาดัดแปลงทางระบายอากาศด้านหลังของตัวทวีตเตอร์ เพื่อให้ทวีตเตอร์ทำงานได้อย่างอิสระมากขึ้น พร้อมดัดแปลงวัสดุ Damping ใส่เพิ่มเข้าไป เพื่อลด Resonance ทำให้ตัวขับเสียงแหลมนี้ สามารถทำงานอย่างราบเรียบลงมาได้ถึงความถี่ 1,000 Hz ซึ่งถือว่า ต่ำมากสำหรับทวีตเตอร์ ส่วนตัวขับเสียงต่ำใช้ Woofer ที่ทำจากวัสดุ MSP (Magnesium Silica Polymer) พร้อม Dust Cap แบบชิ้นเดียว อันเป็นเอกลักษณ์ของ Dynaudio
มาพร้อมกับแม่เหล็กแบบไฮบริด (Hybrid) ที่ใช้ทั้งนีโอไดเมียม และเฟอร์ไรด์ผสมกัน ส่วนของ Voice Coil ยังทำด้วยอะลูมิเนียม ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่า ทำให้สามารถพันวอยซ์คอยล์ได้หลายรอบมากกว่าด้วยน้ำหนักที่เท่ากัน และมีความคงทนสูงกว่าอีกด้วย นอกจากนั้น Dynaudio ยังออกแบบ Woofer นี้ โดยให้มีแม่เหล็กอยู่ภายใน Voice Coil ทำให้สนามแม่เหล็กทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า เมื่อเทียบกับการออกแบบทั่วไปที่จะมีแม่เหล็กอยู่นอก Voice Coil ผลที่ได้คือ ดอกลำโพงขับเสียงต่ำนี้สามารถทำงานขึ้นไปได้ถึงความถี่ 4,000 Hz ซึ่งเป็นความถี่ที่สูงกว่าปรกติที่ตัวขับเสียงต่ำทั่วไปจะทำงานได้ ซึ่งเมื่อรวมคุณสมบัติของทั้งคู่เข้าด้วยกัน จะพบว่ามีความถี่ที่ซ้อนทับกันอยู่ถึง 3,000 Hz ในช่วง 1,000 Hz ถึง 4,000 Hz ทำให้สามารถออกแบบวงจร Cross Over Network แบบ First Order จุดตัดค่าความถี่ที่ 2,000 Hz ซึ่งถือเป็น Cross Over Network ใช้ชิ้นส่วนวงจรน้อยที่สุด และให้ความถูกต้องของเฟสเสียงมากที่สุด ซึ่ง Dynaudio นิยมใช้กับลำโพงของตัวเองมาตลอดหลายสิบปี ในขณะที่ผู้ผลิตลำโพงอื่นต้องจัดการกับการแบ่งความถี่ซับซ้อนที่ตัว Cross Over Network เพราะไม่ได้ผลิตตัวดอกลำโพงเอง ซึ่งมีความเสียงสูงที่จะเกิดความเพี้ยนทางค่าเฟสได้ง่าย
ทั้งหมดนี้คือความพิเศษอย่างแท้จริงของ Special Forty ที่สะท้อนปรัชญาความเชื่อเรื่องของเฟสสัญญาณ และการเริ่มต้นการออกแบบลำโพงจากตัวดอกลำโพง (Driver) ของ Dynaudio มาตลอดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน…ทั้งนี้ Hifi+ ได้ทำการทดสอบลำโพง Special Forty แล้วรู้สึกทึ่งกับคุณภาพเสียงที่ได้รับ ถึงขนาดที่ยอมรับว่า ไม่รู้ว่าจะจ่ายเงินเพื่อลำโพงที่แพงกว่านี้ไปเพื่ออะไรกัน และยกย่องให้ Special Forty เป็นลำโพง Bookshelf ที่ดีที่สุดประจำปี 2017-2018 (ไม่จำกัดงบประมาณราคา) แน่นอนว่า ลำโพงในรุ่น Special Forty ออกแบบและผลิตในโรงงานของ Dynaudio ที่ประเทศ Denmark ใช้ผิวไม้จริงเคลือบแลคเกอร์แท้อย่างสวยงาม พร้อมทั้ง “Plate Special Forty” ที่มีสัญลักษณ์ครบรอบ 40 ปีของ Dynaudio อยู่ที่ด้านหลัง ลำโพง Special Forty จึงเป็นลำโพงที่ควรค่าต่อการสะสม และครอบครองเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักเล่นเครื่องเสียงตัวจริง
ทั้งนี้ทั้งนั้น Dynaudio มุ่งเน้นที่การสร้าง Tweeter Soft Dome ผ้าไหมเพียงอย่างเดียว โดยเคล็ดลับอยู่ที่การเคลือบน้ำยาสูตรเฉพาะที่จะใช้น้ำยาที่แตกต่างกัน ทำการเคลือบหนา-บางไม่เท่ากันในแต่ละส่วนของตัวโดมทวีตเตอร์ เพื่อลดอาการ Break Up หรือ เสียรูปตัวโดม เมื่อรวมกับการใช้แม่เหล็กขนาดใหญ่ การออกแบบรูระบายอากาศที่ด้านหลัง (Rear Chamber) ทำให้ทวีตเตอร์ของ Dynaudio แทบจะปราศจาก ringing effect ในย่านความถี่เสียงที่มนุษย์ได้ยิน และยิ่งรวมกับเทคโนโลยีล่าสุด อย่างการใช้ Hexis Acoustic Dome มาวางที่ด้านหลังของโดมทวีตเตอร์ ยิ่งทำให้ขยายการตอบสนองความถี่แบบไร้ซึ่งเรสโซแนนซ์ (Resonance) ลงไปได้ถึง 700Hz และจากการที่มันตอบสนองความถี่ได้ราบเรียบมาก ไม่มี Resonance ในย่านที่มนุษย์ได้ยิน ทำให้หลายคนพูดกันว่า มันให้เสียงที่หวานนั่นเอง
นอกจากนี้ MSP (Magnesium Silica Polymer) ซึ่งเป็น Woofer ของ Dynaudio ที่น่าจะเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตานักเล่นเครื่องเสียงบ้านเราอย่างมาก เนื่องจากผู้ผลิตหลายแบรนด์ในระดับ High-End ได้นำเอา Woofer ตัวนี้ไปใช้งาน ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่า MSP Woofer จะไม่มี Dust Cap แต่อาศัยการขึ้นรูปชิ้นเดียว และการออกแบบเจาะรูเป็น ‘Rib’ เพื่อสร้างความแกร่งอย่างชาญฉลาด ทำให้มีน้ำหนักเบาและแกร่งกว่า Woofer ทั่วไป นั่นทำให้ Dynaudio สามารถออกแบบให้ Woofer นี้ตอบสนองต่อค่าความถี่ต่ำอันหนักหน่วงได้ จากการออกแบบให้มีการเคลื่อนตัวได้เป็นระยะยาว (Long Throw) นอกจากนั้นในแทบจะทุกรุ่นยังใช้ Aluminum Voice Coil ซึ่งมีความเบามากกว่า ทำให้สามารถพันวอยซ์คอยล์ได้หลายรอบมากขึ้น และมีความทนทานสูงกว่าอีกด้วย…